เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 11. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงครอบงำกามทั้งหลาย
ด้วยพระเดช ทรงเคลื่อนไหว(อิริยาบถ)อยู่
เหมือนดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี
พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติ
และชราในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง
แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วยเถิด
[67] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชตุกัณณิ)
เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย
เธอเห็นเนกขัมมะโดยความเกษมแล้ว
ควรสลัดเครื่องกังวลที่ยึดถือ
หรือว่าเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ (3)
คำว่า ในกามทั้งหลาย ในคำว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลาย
เสีย ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม (2) กิเลสกาม ฯลฯ
เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม1
คำว่า ความติดใจ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย อธิบายว่า เธอจงกำจัด
คือ ขจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความกำหนัดใน
กามทั้งหลาย รวมความว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย
คำว่า ชตุกัณณิ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตร
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ2 รวมความว่า พระผู้มีพระภาตตรัสตอบว่า
ชตุกัณณิ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 8/66-67
2 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :251 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 11. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยธรรมอันเกษม
คำว่า เนกขัมมะ ในคำว่า เธอเห็นเนกขัมมะโดยความเกษมแล้ว อธิบาย
ว่า เธอเห็นแล้ว คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่ม
แจ้งซึ่งการปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติ
ที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์
ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณ ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ
สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน
โดยความเป็นธรรมเกษม คือ เป็นที่ปกป้อง เป็นที่หลีกเร้น เป็นที่พึ่ง ที่อาศัย ที่
ปลอดภัย ที่ไม่จุติ ที่ไม่ตาย ที่ดับเย็น รวมความว่า เธอเห็นเนกขัมมะโดยความ
เกษมแล้ว
คำว่า เครื่องกังวลที่ยึดถือ ในคำว่า ควรสลัดเครื่องกังวลที่ยึดถือ หรือว่า
อธิบายว่า เครื่องกังวลที่ถือแล้ว ยึดมั่นแล้ว ถือมั่นแล้ว ติดใจแล้ว น้อมใจเชื่อแล้ว
ด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ
คำว่า ควรสลัด ... หรือว่า อธิบายว่า ควรสลัด คือ ควรเปลื้อง ละ บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก หรือว่า รวมความว่า ควรสลัดเครื่องกังวล
ที่ยึดถือ หรือว่า
คำว่า เครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ อธิบายว่า เครื่องกังวลคือราคะ เครื่อง
กังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ
เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต เครื่องกังวลนี้อย่าได้มี คือ อย่าได้
ประสบ อย่าได้ปรากฏแก่เธอเลย ได้แก่ เธอจงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้-
มีพระภาคจึงตรัสว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :252 }